วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ


ลามาร์กได้เสนอแนวคิดเพื่ออธิบายว่าสิงมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมขณะเกิดวิวัฒนาการ  แนวคิดของลามาร์กมีดังนี้

กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse)
อวัยวะส่วนใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่และแข็งแรงขึ้นขณะที่อวัยวะไม่ค่อยไดใช้งานจะอ่อนแอและเสื่อมลงไป
กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่(law of inheritance of acquired characteristic)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นภายในชั่วรุ่นนั้นสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกนั้นได้
แนวคิดดังกล่าวไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่ในชั่วชีวิตสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ ทำไห้ไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น

นักเรียนยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตเพื่ออธิบายกฎการใช้และไม่ใช้ได้อย่างไร

- ตัวอย่างเช่น นักกีฬาวีลแชร์ใช้กล้ามเนื้อแขนในการผลักรถวีลแชร์ในการเคลื่อนที่ทำให้แขนมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนกรณีคนไข้ที่ได้รับอุบัติเหตุขาหักต้องเข้าเฝือกขานานหลายเดือนหรือคนที่เป็นอัมพาตไม่สามารถขยับขาเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ ขาจะลีบเล็กลง

 นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากกฎการใช้และไม่ใช้สามารถถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวไปยังรุ่นต่อไปได้หรือไม่เพราะเหตุใด
- ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจากกฎการใช้และไม่ใช้ ไม่สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเซลล์ร่างกาย ไม่ได้เกิดกับเซลล์สืบพันธุ์
นักเรียนจะใช้แนวคิดของลามาร์กในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของยีราฟที่มีลักษณะคอและขายาวขึ้นได้อย่างไร
- จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์พบว่ายีราฟในอดีตมีลักษณะคอและขาสั้น เมื่ออาหารบริเวณพื้นดินมีไม่เพียงพอทำให้ยีราฟต้องยืดคอและเขย่งขาเพื่อกินใบไม้บนต้นไม้สูง ๆ อยู่เสมอทำให้มีคอและขายาวขึ้น และลักษณะดังกล่าวนี้มีการถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปทำให้ยีราฟในปัจจุบันมีลักษณะคอและขายาว
นักเรียนจะออกแบบการทดลองอย่างไรเพื่อพิสูจน์แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลามาร์ก
- ทดลองโดยตัดอวัยวะของสัตว์ที่มีช่วงอายุสั้น เช่น ตัดหางหนูแล้วปล่อยให้หนูที่ถูกตัดหางมีการผสมพันธุ์กันแล้ววัดความยาวของหางรุ่นลูกที่เกิดขึ้น แล้วตัดหางหนูในรุ่นต่อ ๆ ไป และปล่อยให้ผสมพันธุ์กันพร้อมทั้งวัดความยาวหางของรุ่นลูกที่เกิดขึ้นในทุก ๆ รุ่น





คำถาม – คำตอบ
ขณะเดินทางไปกับเรือบีเกิล ดาร์วินได้แนวคิดจากชาลส์ ไลเอลล์อย่างไร
- โลกเกิดขึ้นมานานและมีการเปลี่ยนแปลงของชั้นหิน และเปลือกโลกอย่างค่อยเป็นค่อยไปดังนั้นสิ่งมีชีวิตบนโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดวิวัฒนาการขึ้น
สภาพภูมิศาสตร์ของเกาะกาลาปากอสมีลักษณะอย่างไร
- หมู่เกาะกาลาปากอสเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ ทำให้เกิดเกาะใหญ่เกาะเล็กจำนวนหลายเกาะซึ่งมีสภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน
นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตบนหมู่เกาะกาลาปากอสมาจากไหน
- อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ในประเทศอีเควดอร์
ถ้ามีการอพยพมาจากแผ่นดินใหญ่จะสามารถอพยพมาได้อย่างไร
- อาจอพยพมากับสิ่งที่ลอยน้ำได้ เช่น ขอนไม้ หรือถูกพายุพัดพามา
ถ้านกฟินช์มาจากบรรพบุรุษเดียวกัน และสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะงอยปากของนกฟินช์จะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
- นกฟินช์ที่มาจากบรรพบุรุษเดียวกัน และสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจะงอยปากของนกฟินช์ในหมู่เกาะต่าง ๆ ย่อมมีจะงอยปากที่เหมือนกัน
นักเรียนจะอธิบายการเกิดนกฟินช์หลายสปีชีส์บนหมู่เกาะกาลาปากอสโดยใช้ทฤษฎีของดาร์วินได้อย่างไร
- นกฟินช์ที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ ได้ไปอาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน จึงมีการปรับเปลี่ยนไปใช้ทรัพยากรในการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันทำให้นกฟินช์ที่มีจะงอยปากเหมาะสมกับทรัพยากรในการดำรงชีวิตในเกาะนั้น ๆ มีโอกาสอยู่รอดได้ดีกว่า และมีโอกาสถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวไปยังรุ่นต่อๆไป ทำให้นกฟินช์ในแต่ละเกาะมีลักษณะที่แตกต่างกันมากขึ้นจนกระทั่งเกิดเป็นนกฟินช์หลาย ๆ สปีชีส์ในปัจจุบัน
นักเรียนคิดว่าแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลามาร์กและดาร์วินเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
- แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลามาร์กและดาร์วินเหมือนกันคือ เป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเพื่อให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม แต่แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลามาร์กนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเป็นผลมาจากการใช้หรือไม่ใช้อวัยวะหรือโครงสร้างนั้นที่สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ ขณะที่แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของดาร์วิน ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้นั้นเป็นลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ดำรงชีวิตอยู่
ทฤษฎีวิวัฒนาการสังเคราะห์อธิบายกลไกการเกิดวิวัฒนาการได้อย่างไร
- ทฤษฎีวิวัฒนาการสังเคราะห์เน้นความสำคัญของประชากรซึ่งเป็นหน่วยของวิวัฒนาการโดยสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวในประชากรเดียวกันมีความแปรผันแตกต่างกัน ลักษณะทางพันธุกรรมใดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจะประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์ และถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวไปยังรุ่นต่อ ๆ ไป ทำให้เกิดวิวัฒนาการขึ้น



ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : http://www.suwannaramwittayakom.com/science/anocha/ppt/2552_1/m6.files/frame.htm

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปความรู้เรื่อง วิวัฒนาการ


หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต
     ๑. หลักฐานที่ใช้ยืนยัน
         - จะใช้ซากพิช ซากสัตว์ ที่ทับถมมานาน มาเปรียบเทียบกัน
     ๒. หลักฐานที่ใช่บ่งบอกได้อย่างไรว่ามีวิวัฒนาการ
         - จากการศึกษาจากซากดึกดำบรรพ์ จะคาดคะเนจากอายุของซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในชั้นของหินตะกอน โดยที่ซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุมากจะมีโครงสร้างที่ไม่ทับซ้อนและอยู่ในชั้นหินที่อยู่ด้านล่าง ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยจะมีโครงสร้างที่ทับซ้อนและใกล้เคียงกับปัจจุบัน จะอยู่ในชั้นหินขั้นบนและส่วนมากจะพบในหินปูนมากกว่าหินชนิดอื่น และจะมีการตรวจสอบอายุของซากดึกดำบรรพ์โดยการตรวจสอบคาร์บอน
     ๓. ยกตัวอย่างหรือหลักฐานที่ใช้อธิบาย
         - ยกตัวอย่างเช่น ม้า เปรียบเทียบฟอสซิลของม้าแล้วพบม้ามีขนาดและลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่มีลักษณะตัวเล็กขาสั้นก็เปลี่ยนเป็นตัวใหญ่และสูงขึ้น จากที่ีส่วนสูง ๑๑ นิ้ว ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยจน ๕๐ นิ้วในปัจจุบัน โครงสร้างของม้าก็เปลี่ยนไป





หลักฐานการศึกษาวิวัฒนาการทางชีวภูมิศาสตร์
        ๑. หลักฐานที่ใช้ยืนยัน
           -     ลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดศึกษา จากสถานที่อาศัยและสภาพแวดล้อม
        ๒. หลักฐานที่ใช่บ่งบอกได้อย่างไรว่ามีวิวัฒนาการ
-       บอกได้จากลักษณะสิ่งมีชีวิตชนิดที่ศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมในสถานที่อาศัย เช่น การกิน
        ๓. ยกตัวอย่างหรือหลักฐานที่ใช้อธิบาย
-       ลักษณะของนกฟินช์ ในหมู่เกาะกาลาปากอส และในทวีปอเมริกาใต้ พบว่า นกฟินช์ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะกาลาปากอสมีลักษณะคล้ายคลึงกับนกฟินช์ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้มากกว่านกฟินช์ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะต่างๆ
-       เพราะฉะนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า นกฟินช์ได้มีการอพยพจากทวีปอเมริกาใต้และแพร่กระจายดำรงชีวิตอยู่ในหมู่เกาะต่างๆ และได้มีการวิวัฒนาการไปตามสภาพแวดล้อมและสถานที่อาศัย
http://www.i-creativeweb.com/demo/biology/index.php?

หลักฐานทางกายวิภาคเปรียบเทียบ(Anatomy)

        ๑. หลักฐานที่ใช้ยืนยัน
-     ใช้กระดูกรยางค์คู่หน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
        ๒. หลักฐานที่ใช่บ่งบอกได้อย่างไรว่ามีวิวัฒนาการ
-       เมื่อพิจารณาพบว่าโครงสร้างในกระดูกรยางค์คู่หน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีองค์ประกอบเหมือนกัน แต่ทำหน้าที่แตกต่างกันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
        ๓. ยกตัวอย่างหรือหลักฐานที่ใช้อธิบาย
-       โครงสร้างของสัตว์ เช่น นกกับแมลง มีอวัยวะที่พัฒนามาเพื่อทำหน้าที่ในการบินเหมือนกัน แต่มีโครงสร้างทางกายวิภาคที่แตกต่างกัน เรียกโครงสร้างนี้ว่า Analogous structure



หลักฐานจากคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/150charles-darwin/Less4_3_1.html
        ๑.  หลักฐานที่ใช้ยืนยัน
-     embryo ระยะแรกเท่านั้น
        ๒. หลักฐานที่ใช่บ่งบอกได้อย่างไรว่ามีวิวัฒนาการ
-        ความคล้ายคลึงกันของการเจริญเติบโตในระยะเอ็มบริโอต่างมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่การปรับเปลี่ยนรูปร่างที่เกิดขึ้นในระยะตัวเต็มวัยเป็นผลมาจากการเกิดวิวัฒนาการเพื่อให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันนั่นเอง
        ๓. ยกตัวอย่างหรือหลักฐานที่ใช้อธิบาย
           - จากการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังระยะแรกๆ จะเห็นว่ามีอวัยวะบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น ช่องเหงือก(gill slit) และหาง เป็นต้น ต่อมาเมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยปลาและตัวอ่อนของซาลามานเดอร์ยังคงมีช่องเหงือกไว้ใช้ในการหายใจ แต่ในสัตว์อื่นได้ปรับเปลี่ยนไปในระหว่างการเจริญเติบโตเพื่อให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต เช่น เป็นท่อยูสเตเชียนในคน ส่วนหางยังคงพบอยู่ในสัตว์หลายชนิด ยกเว้นคน

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นางสาวพรศิริ เดชน้อย

บันทึกการเรียนรู้



วันที่  15 กุมภาพันธ์  2555

     วันนี้คุณครูได้สอนวิธีการทำ  blog ให้กับพวกเรา  ครูสอนตั้งขั้นตอนการสมัคร ไปจนถึงขั้นการตกแต่งแก้ไข Blog แล้วสั่งให้พวกเราทำ  blog  กลุ่ม  โดยครูจะให้เราส่งงานใน blog กลุ่ม  ให้พวกเราทำช่วยกันทำ  แล้วก็ต้องบันทึกการเรียนรู้ด้วย



วันที่  17  กุมภาพันธ์  2555

     คุณครูสอนเรื่องวิวัฒนาการ  โดยครูให้พวกเราเรียนเรื่องหลักฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการ  ให้เราแบ่งกันศึกษาคนละหัวข้อโดยแบ่งออกเป็น
        1.หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์
        2.หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบและหลักฐานทางคัพภะวิทยา
        4.หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล
        5.หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์
แล้วแยกย้ายกันรวมกลุ่มกับเพื่อนๆในห้องที่ได้หัวเีดียวกัน   คุยกันแล้วกลับกลุ่มตัวเองเล่าให้เพื่อนในกลุ่มฟัง




วันที่  22  กุมภาพันธ์  2555

      ครูสอนเรื่องพันธุสาสตร์ประชากร  ซึ่งเรื่องนี้จะศึกษาในเรื่องของกาเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนหรือแอลลีล  การเปลี่ยนแปลงความถี่ของจีโนไทป์  และปัจจัยที่ทำให้ความถี่ของแอลลีลเปลี่ยนแปลงไป  และครูก็ได้สอนเกี่ยวทฤษฎีของ  Hardy-Weinberg ด้วย



วันที่  24  กุมภาพันธ์  2555

      ครูได้ทบทวนเรื่องพันธุศาสตร์ประชากร  แล้วก็สอนเรื่องทฤษฎีของ  Hardy-Weinberg  ต่อ  แล้วครูก็ให้ทดสอบทำข้อคำนวณในเรื่องพันธุศาสตร์ประชากร  แล้วก็สอบเป็นกลุ่ม

นางสาวปาิริสา ชอบตรง




บันทึกการเรียนรู้

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555
            พบคุณครูและคุณครูก็ได้พูดถึงเรื่องคะแนนสอบกลางภาคที่นักเรียนส่วนมากจะสอบไม่ผ่านเกณฑ์ ในแต่ละรายจุดประสงค์ จึงได้ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อน 1 คน ทำข้อสอบใหม่ทั้งหมด ปรึกษาหารือและช่วยกันหาคำตอบได้ในคู่ของตัวเอง เปิดหนังสือดูได้ ภายในเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้น

วันพุธที่ 15  กุมภาพันธ์  2555
        ในต้นชั่วโมง คุณครูให้ทำแบบทดสอบเก็บคะแนน 10 ข้อภายในเวลา 15  นาที เรื่อง พันธุ์ศาสตร์และเทคโนโลยีดีเอ็นเอ และให้ของกลุ่มเพื่อนๆแสดงบทบาทสมมติในเรื่อง DNA replication 
หลังจากเพื่อนๆแสดงเสร็จ คุณครูก็ได้ชี้แจงให้ทราบเกี่ยวกับคะแนนเก็บ และได้กำชับให้นักเรียนติดตามส่งงาน ทำงานให้ครบตามจุดประสงค์ หากมีข้อสงสัยให้เข้าไปติดต่อกับทางBlogของคุณครูเพราะคุณครูได้ชี้แจ้งรายละเอียดงานต่างๆคุณครูก็ยังได้สอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ blog  สอนการใช้เทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำBlogของกลุ่มและรายบุคคล  และกำหนดส่งงานให้ตรงตามเวลาที่ครูกำหนด

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555  
            ในชั่วโมงนี้คุณครูเริ่มสอนจากการกล่าวถึงเรื่อง หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการ คุณครูได้มอบหมายให้สมาชิกในกลุ่มเลือกหลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิต มีประเด็นศึกษาหลักฐานสำคัญ ได้แก่   
1.หลักฐานซากดึกดำบรรพ์
2. หลักฐานทางกายวิภาคเปรียบเทียบ
3. หลักฐานทางคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ
4. หลักฐานทางชีวิทยาระดับโมเลกุล และ
5. หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์
แล้วมอบหมายให้สมาชิกในกลุ่มแบ่งหัวข้อกันศึกษา และแต่ละเรื่องให้ไปรวมกลุ่มกับเพื่อนๆต่างกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน มาพูดคุย อภิปรายกัน ว่า
      1. ใช้อะไรเป็นหลักฐาน
      2. หลักฐานบอกได้อย่างไรว่ามีวิวัฒนาการ
      3. ยกตัวเองเพื่อนำมาอธิบายข้อ 2.
         จากนั้นนำความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้ให้กับกลุ่ม จากนั้นก็สรุปเป็นองค์ความรู้และนำไปส่งบนBLOG
 ของกลุ่ม
                 และคุณครูได้ให้นักเรียนดูวิดีโอการเรียนรู้เรื่องวิวัฒนาการ กฎของลามาร์ก การศึกษาทางด้านวิวัฒนาการของลา มาร์ก และประวัติการศึกษาค้นพบ
ของชาร์ล ดาร์วิน พร้อมกับอธิบายประกอบวิดีโอทำให้นักเรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

นางสาวสุจรรยา ลีอุ่น

บันทึกการเรียนรู้


วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555

วันนี้คุณครูสอนวีธีการทำ blog  ว่ามีขั้นตอนการสมัครอย่างไร โดยทำตามขั้นตอนที่ครูบอก คือ ต้องสมัคร blog โดยใช้ gmail  และเข้าไปตกแต่ง  แก้ไขข้อมูล ต้องเข้าไปที่ออกแบบก่อน  ก็ต้องขอขอบคุณคุณครูที่แนะนำสิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์มากๆ เลยนะค่ะ



วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555

วันนี้คุณครูให้แบ่งกลุ่มศึกษา หลักฐานสนับสนุนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยจะมีหัวข้อต่างๆ ดั้งนี้
1.หลักฐานซากดึกดำบรรพ์
2.หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบและหลักฐานทางคัพภะวิทยา
4.หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล
5.หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์
         โดยหนูได้หัวข้อเรื่องหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
หลักฐานซากดึกดำบรรพ์นี้จะใช้ซากพืช ซากสัตว์ ที่ทัมถมมานานในชั้นหินต่างๆ โดยที่ซากสัตว์ที่อยู่หินชั้นล่างจะมีอายุมากกว่าซากที่อยู่หินชั้นบนและจะมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ในการตรวจสอบหาอายุซากดึกดำบรรพ์จะใช้วิธีการตรวจหาคาร์บอน และมีวิธีอื่นๆอีก



วันที่   22  กุมภาพันธ์  2555

      วันนี้คุณครูสอนเรื่องพันธุศาสตร์ประชากร
พันธุศาสตร์ประชากรคือ การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน  หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล  การเปลี่ยนแปลงความถี่ของจีโนไทป์  และปัจจัยที่ทำให้ความถี่ของแอลลีลเปลี่ยนไป
ซึ่งในชั่วโมงนี้คณุจะสอนเกี่ยวกับการคำนวณหาความถี่ของยีน  และสอนทฤษฎีของ Hardy-welnberg Theory  ซึ่งมีหลักการว่า ความถึ่ของแอลลีลจะมีคาคงที่ในทุกๆ รุ่น ถ้าประชากรมีลักษณะ ดังนี้
  1. มีขนาดใหญ่
  2. ไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้าย
  3. ไม่เกิดมิวเทชั่น
  4. สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน
  5. ไม่เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ



วันที่   24  กุมภาพันธุ์  2555


      วันนี้คุณครูได้ทบทวนเรื่องพันธุศาสตร์ประชาประกร  โดยอธิบายวิธีการคำนวณหาความถี่ของยีนโดยให้โจทย์มาทดลองทำ  และครูก็อธิบายเรื่องสมการของ Hardy-Weinberg  อธิบายถึงการนำมาใช้ประโยชน์ซึ่งนำทฤษฎีและสมการของเขามาใช้ในการคำนวณหาจำนวนประชากรในการดูแลและรักษาโรครวมถึงการนำเชื้อโรคด้วย  พอคุณครูอธิบายเสร็จคุณครูก็ให้สอบโดยสอบเกี่ยวกับการคำนวณหาความถี่ของยีน  ซึ่งเป็นการสอบเก็บคะแนน 









นายอดิศร บรมศรี




บันทึกการเรียนรู้

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555
       คุณครูสอนเรื่องการทำบล็อก การสร้างเมนู ที่ผมสงสัยมานานว่ามันทำยังไงเพราะโดยส่วนตัวผมไม่ค่อยรู้เรื่องพวกนี้ซักเท่าไหร่ แต่พอได้ฟังคุณครูอธิบายก็เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเมนู เลือกรูปแบบต่างๆ การตกแต่งตามใจชอบตาที่อยากให้บล็อกของเราเป็นตามความต้องการ ซึ่งทำให้ผมมีความกระตือรือร้นในการสร้างสรรค์ผลงานและสามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมผลงานได้ง่ายยิ่งขึ้นครับ

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555
        วันนี้ผมก็ได้เรียนรู้เนื้อหาแรกของเรื่อง วิวัฒนาการ ซึ่งภายในกลุ่มของผมได้แบ่งหน้าที่กันศึกษาตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งหัวข้อที่ผมได้มาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เรื่อง หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์ครับ 

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555
     วันนี้เริ่มเรียนเรื่องพันธุศาสตร์ปรชากรครับ ซึ่งเรื่องนี้ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องพันธุศาสตร์ ,เมนเดล และอธิบายลักษณะจากรุ่นนึงไปรุ่นนึงได้อย่างไร? ซึ่งจากการศึกษาก็ทำให้ทราบว่าได้นำ ทฤษฎีของ ชาร์ล ดาร์วิน มาเ็ป็นตัวอธิบายร่วมกันครับ


ชื่อ : นางสาวพรศิริ   เดชน้อย
ชื่อเล่น : เบียร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/13   เลขที่ 33
e-mail : detnoipronsiri@gmail.com
ชื่อ : นางสาวปาริสา   ชอบตรง
ชื่อเล่น : ฟ่าง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/13  เลขที่ 32
e-mail : nongfang_kang@hotmail.com
ชื่อ : นางสาวสุจรรยา   ลีอุ่น 
ชื่อเล่น : แวว
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/13 เลขที่ 27
e-mail : weaw_waw@hotmail.com
ชื่อ : นายอดิศร   บรมศรี
ชื่อเล่น : อาร์ต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/13
e-mail : ArtRook@hotmail.com